เมนู

อรรถกถาอธิมัตตัตถนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในอธิมัตตัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า สทฺธินฺทฺริย-
สฺส ภาวนาย ฉนฺโท อุปฺปชฺชติ
ฉันทะเกิดขึ้นเพื่อความเจริญแห่ง
สัทธินทรีย์ คือ ฉันทะในธรรมอันฉลาดย่อมเกิดขึ้นในสัทธินทรีย์ เพราะฟัง
ธรรมปฏิสังยุตด้วยศรัทธาของบุคคลผู้มีศรัทธา หรือเพราะเห็นคุณของการ
เจริญสัทธินทรีย์. บทว่า ปามุชฺชํ อุปฺปชฺชติ ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
คือความปราโมทย์ย่อมเกิด เพราะฉันทะเกิด. บทว่า ปีติ อุปฺปชฺชติ ปีติ
ย่อมเกิดขึ้น คือ ปีติมีกำลังย่อมเกิดเพราะความปราโมทย์. บทว่า ปสฺสทฺธิ
อุปฺปชฺชติ
ปัสสัทธิย่อมเกิด คือ กายปัสสัทธิและจิตปัสสัทธิย่อมเกิด เพราะ
ความเอิบอิ่มแห่งปีติ. บทว่า สุขํ อุปฺปชฺชติ ความสุขย่อมเกิดขึ้น คือ
เจตสิกสุขย่อมเกิดขึ้นเพราะกายและจิตสงบ. บทว่า โอภาโส อุปฺปชฺชต
แสงสว่างย่อมเกิดขึ้น คือ แสงสว่าง คือสติย่อมเกิดขึ้น เพราะจมอยู่
ด้วยความสุข. บทว่า สํเวโค อุปฺปชฺชติ ความสังเวชย่อมเกิดขึ้น
คือ ความสังเวชในเพราะความปรวนแปรของสังขารย่อมเกิดขึ้นเพราะรู้แจ้ง
โทษของสังขารด้วยแสงสว่าง คือญาณ. บทว่า สํเวเชตฺวา จิตฺตํ
สมาทิยติ
จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น คือ จิตยังความสังเวชให้เกิดแล้ว
ย่อมตั้งมั่นด้วยความสังเวชนั่นนั้นเอง. บทว่า สาธุกํ ปคฺคณฺหาติ ย่อม
ประคองไว้ดี คือ ปลดเปลื้องความหดหู่และความฟุ้งซ่านเสียได้แล้วย่อมประคอง
ไว้ด้วยดี. บทว่า สาธุกํ อชฺฌุเปกฺขติ ย่อมวางเฉยด้วยดี คือ เพราะความ
เพียรเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ไม่ทำความขวนขวายในการประกอบความเพียร
สม่ำเสมออีก ชื่อว่าย่อมวางเฉยด้วยดี ด้วยสามารถแห่งความวางเฉย ด้วยวาง

ตนเป็นกลางในความเพียรนั้น. บทว่า อุเปกฺขาวเสน ด้วยสามารถแห่ง
อุเบกขา คือ ด้วยสามารถแห่งความวางเฉยด้วยวางตนเป็นกลางในความเพียร
นั้น เพราะมีลักษณะนำไปเสมอ. บทว่า นานตฺตกิเลเสหิ จากกิเลสต่าง ๆ
คือ จากกิเลสอันมีสภาพต่างกันอันเป็นปฏิปักษ์ แห่งวิปัสสนา. บทว่า วิโมกฺขว-
เสน
ด้วยสามารถแห่งวิโมกข์ คือ ด้วยสามารถแห่งความหลุดพ้นจากกิเลส
ต่าง ๆ ตั้งแต่ภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับแห่งสังขาร). บทว่า
วิมุตฺตตฺตา เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้น คือ หลุดพ้นจากกิเลส
ต่าง ๆ. บทว่า เต ธมฺมา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น บทว่า
เอกรสา โหนฺติ มีรสเป็นอันเดียวกัน คือ มีรสเป็นอันเดียวกันด้วยสามารถ
แห่งวิมุตติ. บทว่า ภาวนาวเสน ด้วยอำนาจแห่งภาวนา คือ ด้วยอำนาจ
แห่งภาวนามีรสเป็นอันเดียวกัน. บทว่า ตโต ปณีตตเร วิวฏฺฏนฺติ ธรรม
เหล่านั้นย่อมหลีกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรมที่ประณีตกว่า คือ ธรรมทั้งหลายมี
ฉันทะเป็นต้น ย่อมหลีกจากอารมณ์ คือ วิปัสสนาด้วยเหตุนั้นไปสู่อารมณ์ คือ
นิพพานอันประณีตกว่าด้วยโคตรภูญาณ กล่าวคือ วิวัฏฏนานุปัสสนา (การ
พิจารณาเห็นความหลีกไป) ความว่า ธรรมทั้งหลายหลีกออกจากอารมณ์ คือ
สังขารแล้วเป็นไปในอารมณ์ คือ นิพพาน. บทว่า วิวฏฏนาวเสน ด้วย
อำนาจแห่งความหลีกไป คือ ด้วยอำนาจแห่งความหลีกไปจากสังขารในขณะ
โคตรภู โดยอารมณ์ คือ สังขาร. บทว่า วิวฏฺฏิตตฺตา ตโต โวสฺสชฺชติ
จิตย่อมปล่อยจากธรรมนั้นเพราะเป็นจิตหลีกไปแล้ว คือ บุคคลผู้เพียบพร้อม
ด้วยมรรค ย่อมปล่อยกิเลสและขันธ์ด้วยเหตุนั้นนั่นแล เพราะจิตหลีกไปแล้ว
ด้วยอำนาจแห่งการปรากฏสองข้างในขณะมรรคเกิดนั่นเอง. บทว่า โวสฺสชฺ-
ชิตตฺตา ตโต นิรุชฺฌนฺติ
ธรรมทั้งหลายย่อมดับไปจากนั้นเพราะจิตเป็น

ธรรมชาติปล่อยแล้ว คือ กิเลสและขันธ์ย่อมดับไปด้วยอำนาจแห่งการดับความ
ไม่เกิด ด้วยเหตุนั้น เพราะจิตเป็นธรรมชาติปล่อยกิเลสและขันธ์ ในขณะ
มรรคเกิดนั้นเอง. อนึ่ง บทว่า โวสฺสชฺชิตตฺตา ท่านทำให้เป็นคำกล่าวตาม
เหตุผลที่เป็นจริงในความปรารถนา. เมื่อมีการดับกิเลส ท่านก็กล่าวถึงการดับ
ขันธ์เพราะความปรากฏแห่งความดับขันธ์. บทว่า นิโรธวเสน ด้วยอำนาจ
ความดับ คือ ด้วยอำนาจความดับตามที่กล่าวแล้ว. พระสารีบุตรเถระประสงค์
จะแสดงถึงความปล่อย 2 ประการ ในขณะที่มรรคนั้นเกิด จึงกล่าวบทมีอาทิว่า
นิโรธวเสน เทฺว โวสฺสคฺคา ความปล่อยด้วยอำนาจแห่งความดับมี 2
ประการ. ความปล่อยแม้ 2 ประการ ก็มีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลัง.
แม้ในบทมีอาทิว่า อสฺสทฺธิยสฺส ปหานาย ฉนฺ โท อุปฺปชฺชติ
ฉันทะย่อมเกิดเพื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา พึงทราบความโดยพิสดารโดยนัย
นี้แล. แม้ในวาระอันมีวิริยินทรีย์เป็นต้นเป็นมูลเหตุ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาอธิมัตตัตถนิเทศ

อรรถกถาอธิฏฐานนัตถนิเทศ


แม้อธิฏฐานัตถนิเทศ พึงทราบโดยพิสดารโดยนัยนี้. มีความแตกต่าง
กันอยู่อย่างเดียวในบทนี้ว่า อธิฏฺฐาติ ย่อมตั้งมั่น ความว่า ย่อมดำรงอยู่.
จบอรรถกถาอธิฏฐานัตถนิเทศ